เด็กสวน (โมกข์) ตอนที่ ๔ ความสุขของคนเถื่อน

Share

งานจดหมายเหตุ,

สรุปประเด็นและร้อยเรียง การสนทนา Clubhouse สวนโมกข์กรุงเทพ

รายการ เด็กสวน (โมกข์) ตอนที่ ๔ ความสุขของคนเถื่อน

การแผ่เมตตาเพื่อสัตว์โลก สำคัญกว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ?

วันอังคารที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา : ๒๐.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

Moderator: นพ.บัญชา พงษ์พานิช และนายเวลา

แขกรับเชิญ : คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

262532202 435211821547032 6142495384241080890 n

 

 รับฟังทั้งหมดได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=H-vJfpVwytM 

https://soundcloud.com/suan-mokkh/lbyter9jecv7 

https://open.spotify.com/episode/2Nzaf5weHzGc4YzTYoZ5H4?si=0L0VwyDUQvWNCvebmA18dg

 

คิดอย่างไรกับการตอบรับเป็นพิธีกรรายการพื้นที่ชีวิต

ปีนั้นอายุ ๒๕ ย้อนไป ๑๒ ปี (ปี ๒๐๐๙) ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีความตั้งใจว่าจะต้องเดินทางอะไรมากมายในชีวิต แต่โอกาสประจวบเข้ามาในตอนนั้น เป็นช่วงที่กำลังเคว้งๆ และหาหนทางใหม่ในชีวิตอยู่พอดี บวกกับไอเดียของรายการน่าสนใจมาก ให้ผมไปทำเรื่องศาสนา ผมเองก็ไม่รู้เรื่องศาสนาเลยนะ ทางสวนโมกข์ก็บอกว่า ใช่ นี่คือสิ่งที่เราต้องการ คนที่ไม่มีศาสนา หรือคิดว่าตนเองไม่มีศาสนา ที่สามารถมานำเสนอศาสนาพุทธได้ โดยปราศจากแง่มุมของการเป็นศาสนิก การที่มีศรัทธามาก่อน แล้วค่อยๆ เข้าหาพร้อมกับคนดู ก็เลยตอบรับไปตรงนั้น บวกกับโอกาสที่ได้เรียนรู้ผ่านการเดินทางเป็นครั้งแรกในชีวิต จากนั้นก็กลายเป็นอาชีพไปเลยต่อจากพื้นที่ชีวิต ก็เป็นเถื่อน travel

เรื่องที่เคว้งๆ ตอนนั้นเกิดจากอะไร

  • ตอนนั้นเรียนจบได้สักประมาณ ๓ ปี ตอนแรกพยายามทำเป็น NGO อยู่ แต่เหมือนกับเรายัง Skill ไม่พอในการจะไปขับเคลื่อนสังคมในตอนนั้น ทำไปได้ ๑ - ๒ ปี เรามีความอยากขับเคลื่อนสังคม แต่พอเจอคนเยอะๆ แล้วเรากลับรู้สึกไม่ค่อยรู้อะไร อันนี้เคว้งหนึ่งแล้ว
  • เคว้งสองคือความฝันอีกด้านหนึ่ง ตอนนั้นอยากเป็นนักดนตรี พยายามทำวงกับเพื่อนๆ แต่ก็ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ในตอนนั้น บวกกับตอนเบญจเพสด้วย เราโตมากับร่มเงาของคุณพ่อคุณแม่ ตอนอายุเท่านั้นก็เปรียบเทียบตัวเองกับพ่อกับแม่เยอะ ว่าตอนนั้นพ่อแม่ทำอะไรไปแล้ว เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย ก็เคว้งตรงนั้นด้วย
  • พ่อเคยสอนว่า ตอนวัยเบญจเพสเราจะกลายเป็นคนที่จะเป็นไปตลอดทั้งชีวิต มันไม่ใช่เรื่องของความซวยอะไรหรอก เป็นเรื่องว่าคุณจะเจอเส้นทางที่มันจะกำหนดสิ่งที่เหลือตลอดชีวิตต่อไป และผมก็ได้เจอกับการทำรายการพื้นที่ชีวิตพอดีในตอนนั้น เหมือนอะไรหลายๆ อย่างที่หาอยู่ มันเป๊ะ มันใช่ว่านี่คือทางที่เราอยากเดินต่อ แล้วก็เดินจากตรงนั้น จากเป็นพิธีกร ไปกำกับ ไปเขียนบท เริ่มเปิดบริษัทโปรดักชั่นตัวเอง เริ่มหาหนทางในการทำ content แบบต่างๆ เรื่อยมา

262428012 317356483567490 6242956746242244753 n

พุทธทาสในมุมมองตอนนั้น ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมรายการพื้นที่ชีวิตเป็นอย่างไร

เคยผ่านตางานของท่านอยู่บ้าง แต่ด้วยตัวเองที่ไม่เข้าใจในศาสนาครบถ้วนนัก ก็เลยไม่ได้คิดจะสนใจศึกษาในแง่ที่เราเข้าใจในตอนนั้น คิดว่าเป็นเรื่องของพิธีกรรม ความเชื่ออย่างเดียว ไม่ได้เข้าใจอะไรที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น ในวัยเท่านั้น ทำให้เราเห็นอะไรที่มีรูปพระมาก่อนแทบจะเดินหนีหมดเลย แต่ว่าตอนนั้นในหมู่นักเรียนที่ค่อนข้างมีความ active ในกิจกรรมทางสังคม ที่เห็นในรั้วธรรมศาสตร์ก็ดี นอกรั้วบ้างก็ดี จำได้ว่าค่อนข้างจะสนใจงานท่านพุทธทาส และเห็นหลายคนหยิบมาอ่านด้วย แต่ว่าตัวเองยังไม่ได้อ่านในตอนนั้น แต่แค่เห็นน่าสนใจว่า ในหมู่กลุ่มคนรอบตัวซึ่งดูเหมือนไม่ได้ธรรมะธัมโมทั้งหลายกลับสนใจงานท่านพุทธทาสเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับอาจารย์ท่านอื่นๆ

พุทธทาสในมุมมองตอนนี้มีความน่าสนใจ ประทับใจอะไรไหม

  • ท่านพุทธทาสเป็นพระอาจารย์ที่เห็นความเป็นมนุษย์สูง สิ่งหนึ่งที่ดึงดูดหลายๆ คน เข้าหางานของท่าน คือความเข้าถึงแก่นโดยไม่ต้องมีทางอ้อมเลี้ยวเยอะมาก
  • ต้องออกตัวก่อนว่าเราเรียนรู้งานท่านพุทธทาส ไม่ได้ผ่านการอ่านด้วยตัวเอง แต่ผ่านการพูดจา เสวนา กับคนที่เป็นศิษย์ท่านพุทธทาสทั้งหลาย ผ่านทางรายการนี้แหละ เคยอ่านเองอยู่บ้างเพียงไม่กี่เล่มเท่านั้น ที่รู้สึกได้ก็คือว่าท่านพูดในภาษาที่เราเข้าใจได้โดยไม่รู้สึกว่าตัวเองจะต้องศึกษา หรือว่าจะต้องเป็นคนที่ฉลาดกว่านี้ถึงจะเข้าถึงธรรมะในแก่นเหล่านี้ได้ แต่แน่นอนว่าถ้าใครศึกษาท่านพุทธทาสลึกก็คงมีอะไรที่ลึกซึ้งมากยิ่งกว่านั้น
  • สิ่งที่พอจะ debate กับท่านได้บ้าง ก็อย่างเช่นเรื่องธัมมิกสังคมนิยม ก็เป็นหนึ่งในเล่มที่อ่าน จะเป็นเรื่องที่ออกจากการฝึกจิตใจไปสู่ทางสังคม จำเนื้อหาหลักๆ มากไม่ได้ แต่ก็มีการลิ้งค์เข้าเรื่องของจิตวิญญาณ เราเชื่อในกลไกทางการออกแบบเชิงโครงสร้าง เชิงนวัตกรรม เชิงนโยบายมากกว่า เรื่องจิตใจถือว่าไม่ค่อยมีบทบาททางสังคมเท่าไหร่ นำมาสู่ประเด็นที่เราจะคุยกันต่อไปได้ คื่อเรื่องว่าจะแผ่เมตตาหรือจะรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ในแง่เรื่องของการฝึกจิตใจ ผมคิดว่าพุทธทาสพูดอะไรมา ก็ต้องเอาไปขบคิด และก็สามารถเชื่อได้แต่แรกว่าท่านรู้ดีกว่าอยู่แล้ว และก็นำไปขบคิดในฐานะครูบาอาจารย์ต่อ ในฐานะนักเรียนด้านสังคมศาสตร์ ก็มีบางประเด็นที่สามารถถกเถียงกันต่อได้

262265574 432435848375785 2028199082550317160 n

เคยแลกเปลี่ยนมุมมองทางศาสนากับคุณพ่อไหม

  • อย่าเรียกว่าเราพูดเรื่องศาสนาเลย เราพูดคุยกันเรื่องชีวิตค่อนข้างเยอะ และแง่มุมของชีวิตที่ไม่ได้จบอยู่แค่การทำมาหากิน ซึ่งผ่านไปในแต่ละช่วงวัย รู้สึกว่าผมก็เจอพ่อคนเดิมของผม แต่ว่าทุกวัยที่ผ่านไปก็มีเรื่องใหม่ไปคุยกับเขา แต่ก่อนอาจจะพูดเรื่องการหาตัวตน เรื่องการแสวงหาความหมาย เดี๋ยวนี้พูดเรื่องการดูแลคนรอบข้าง พออายุมากหน่อยก็พูดเรื่องการเรียนรู้การเป็น no one การไม่ต้องเป็นใครก็ได้ มันเป็นอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีหลายอย่างที่เข้าไปสู่แก่นแห่งพุทธได้ เพียงแค่ไม่จำเป็นต้องอธิบายผ่านหลักศาสนาพุทธอย่างเดียวก็ได้ พ่อผมเวลาคิดว่าอันไหนสามารถอธิบายผ่านหลักพุทธได้ เขาก็จะยกขึ้นมา แต่เขาก็เน้นเสมอว่าสุดท้ายแล้ว “พูดไปก็เท่านั้น ต้องปฏิบัติ” แต่ถ้าอันไหนพูดจากันโดยไม่ต้องอ้างศาสนาอะไรเลยก็ได้ ก็แค่พูดในเชิงหลักการ ไม่ต้องมีหลักทางพุทธเข้ามา
  • พ่อผมเข้าใจว่ายังไม่ถึงเวลาที่ต้องปล่อยวางอะไรมากมาย เหมือนกับตอนนี้ผมอายุ ๓๗ ก็ปล่อยวางมากกว่าตอนอายุ ๒๕ แต่ว่าก็ยังไม่ปล่อยวางเท่ากับอายุ ๖๐ ในอนาคตอยู่แล้ว
  • ค้นพบว่าการทำรายการพื้นที่ชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้มีโอกาสไปเรียนรู้หลายๆ อย่าง ซึ่งยังไม่ต้องใช้ในวัยหนุ่ม แต่พอถึงเวลาที่ต้องใช้มัน ก็ดึงสิ่งที่เคยเรียนรู้ในการพูดคุยเรื่องธรรมะ การเจอปราชญ์ระดับโลกมาครุ่นคิด และมาใช้ต่อในชีวิตช่วงหลังๆ ได้พอสมควรเหมือนกัน

ตอนที่ไปสวนโมกข์เป็นไงบ้าง

  • ตอนนั้นไปปฏิบัติธรรมประมาณ ๑๘ วัดในไทย และต่างประเทศ ตอนนั้นมีปัญหาอย่างหนึ่งในการทำรายการพื้นที่ชีวิต คือ เราได้ไปสัมผัสสิ่งที่ลึกซึ้งเยอะมาก แต่ไม่มีเวลาประมวลผลเลย เพราะต้องทำทุกอาทิตย์ สุดท้ายเหมือนต้องมาทำรายงานส่งครู เพราะต้องเป็นพิธีกรของแต่ละตอน โดยที่เราไม่มีเวลานั่งจะตกผลึก แนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง หรือหลักปฎิบัติอันใดอันหนึ่งอย่างจริงจัง ทำให้บางอย่างยังไม่ stick อยู่ในหัว เป็นแค่การทำงาน ซึ่งอาจจะได้อะไรมาบ้าง แต่ไม่เท่ากับการปฏิบัติโดยเฉพาะ

262502893 1033428213892087 1898194750219840563 n

สวนโมกข์กรุงเทพเป็นอย่างไร

  • ไม่เคยไปปฎิบัติธรรมจริงจัง มีไปนั่งเงียบๆ ในห้องนิพพาน ก็ถือว่าเป็นแหล่งที่คนกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงธรรมะได้ดี จัดงานทีไรก็มีญาติธรรมมากันค่อนข้างเยอะ และสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกันหลายประเด็นได้มากๆ เป็นกึ่งกลางระหว่างวัดกับพระ เป็น community center วัดก็ไม่ใช่ แต่บรรยาการของการเรียนรู้ธรรมะมันมีอยู่เสมอในสวนโมกข์กรุงเทพ ชอบบรรยากาศตรงนั้น บางทีก็ไปนั่งอ่านหนังสือ แต่ส่วนใหญ่ก็ไปออกงานที่นั่นเยอะมาก
  • ลายคนรู้สึกผูกพันกับสวนโมกข์กรุงเทพมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่พึ่งในจิตใจที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนไปไหว้พระ แต่ไปเวลาต้องการความสงบ ไปทุกครั้งก็รู้สึกสงบทุกครั้ง ไม่รู้สึกวุ่นวาย

5656788

จะแนะนำคนที่ไม่เคยมาสวนโมกข์กรุงเทพอย่างไร และสวนโมกข์กรุงเทพ ควรทำอะไรอีกบ้าง

  • ถ้าคุณไม่เคยสนใจเรื่องธรรมะอะไรเลยก็ตามแต่ มาที่นี่จะโดนดูดด้วยความน่ามอง น่าเดินเล่นก่อน สักพักจะมี  อะไรบางอย่างให้เราขบคิด ค่อยๆ หามุมที่เรา compatible ของตัวเอง ที่จะค่อยๆ เรียนรู้หลักคิดเหล่านี้ ถ้าเป็นวัดโดยทั่วไป ถ้าเป็นวัดคนเมือง ส่วนใหญ่ต้องทุกข์ใจก่อนถึงจะโดนดูดไป คนจะเข้าวัดได้ต้องเสียใจ อกหัก หรือญาติเสียชีวิต แต่ถ้าเป็นสวนโมกข์ ไปด้วยความแบบเหมือนเป็นวันหยุด ไปดูสิ แล้วจะค่อยๆ หาที่ของตัวเองได้ว่าเรามาที่นี่ทำไม

การได้เข้ามามีโอกาสทำงานเกี่ยวกับศาสนา จิตวิญญาณ พื้นที่ชีวิต การเดินทางแบบเถื่อน เปลี่ยนความคิดหรือมีอิทธิพลอย่างไรบ้าง

  • ปัจจุบันหยุดเดินทางมาเกือบ ๒ ปีแล้ว ตอนนี้ค่อยๆ เข้าที่เข้าทาง ตอนแรกจิตดิ้นมากว่าทำไมฉันไม่ได้ไปไหนเลย เพราะฉะนั้น phase ของการเป็นนักเดินทางเป็นบทของชีวิตที่ได้ปิดไปแล้วเรียบร้อย แต่ตอนนี้เราค้นพบเส้นทางใหม่พอสมควร ถ้าตอนนี้ส่วนใหญ่ไปไหนก็จะโดนแนะนำในฐานะนักสิ่งแวดล้อมมากกว่า แต่ image นักเดินทางก็ยังมีติดตัวอยู่ และก็ยังอยากกลับไปทำอยู่บ้าง แต่ไม่ต้องทำตลอดเวลาอย่างแต่ก่อนแล้ว
  • การทำรายการพื้นที่ชีวิต – เถื่อน travel เป็นเหมือนกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อนหน้านี้รู้สึกว่า แทบไม่ต้องเรียนปริญญาอันไหนต่อเลยหลังจากจบปริญญาตรีมาแล้ว เพราะเป็นความรู้ในแบบที่พอไปเจอไปสัมผัสแล้ว แน่นอนเรื่องธรรมะเป็นเพียงแค่หนึ่งประเด็นเท่านั้นที่เราได้เรียนรู้ผ่านการเดินทาง ที่เหลือเป็นเรื่องของชีวิต เรื่องของความเป็นมนุษย์ เรื่องของความขัดแย้ง เรื่องของความสัมพันธ์ สายใยระหว่างคนกับธรรมชาติ ระหว่างคนกับคน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันก้าวข้ามคำว่าศาสนา เป็นร่มที่ใหญ่กว่าคำว่าศาสนาด้วยซ้ำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการเชื่อมโยงและเข้าใจอยู่แล้ว และศาสนาสามารถจัดระเบียบความคิดเหล่านี้มาเป็นรูปแบบ ที่ทำให้คนทั่วไปจัดลำดับขั้นตอนเข้าใจได้ แต่ว่าเลยสิ่งนั้นไปก็มีอะไรที่ทั้ง simple และ complicate กว่านั้นอยู่ และเป็นสิ่งที่อธิบายได้ลำบาก แต่กระจายอยู่ทั่วไปในการได้สัมผัสความหลากหลายบนโลกใบนี้ และการเข้าใจว่าผู้คน มนุษย์ต้องการอะไร ใจมนุษย์เป็นอย่างไร การทำงานและจิตใจของมนุษย์เป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้สอนอะไรเราได้ค่อนข้างเยอะ
  • สุดท้ายในช่วง ๒ ปีมานี้นำเรามาสู่เรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ที่ทำให้พอเราเริ่มอิ่มกับการเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ เราก็รู้สึกโดนดูดในการเดินทางไปสู่การเรียนรู้อะไรที่ใหญ่กว่ามนุษย์ คือเรื่องของสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ แล้วค่อยๆ ศึกษาจากตรงนั้น จนตอนนี้เป็นงานที่ค่อนข้างชัดเจนในสายของเราแล้วว่าทำเรื่องสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา

262555830 946405302977781 6503840124195793771 n

ประเด็นเรื่องความแตกต่างหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางไปในหลากหลายพื้นที่ เปลี่ยนตัวตนอย่างไรบ้าง จากการเป็นนักเคลื่อนไหว

  • จากที่ทำมา ๑๒ ปี มีความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วง  ถ้าช่วงแรกก็เปลี่ยนจากผู้ตัดสินมาเป็นผู้เรียนรู้แทน ตอนอายุน้อยๆ ก็จะตัดสินไปหมด แต่ว่าพอได้เข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น ได้เข้าใจแก่นของสังคมทั่วโลกมากขึ้น ก็เข้าใจมุมมองและความต้องการของคนมากขึ้น นำมาสู่จุดที่เราได้กลายเป็นนักเรียนรู้มากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้พอเป็นนักเรียนรู้ก็มาเปลี่ยนสไตล์การเล่าเรื่องในรายการของเรา แต่ก่อนต้องมีบทสรุปว่าโลกต้องเป็นยังไง จนตอนหลังกลายเป็นแค่บอกว่าอธิบายให้เข้าใจว่าฉันไปเจออะไรมาก็พอแล้ว แล้วก็ให้คนดูตัดสินกันเอง
  • สะท้อนมาถึงชีวิตปกติประจำวันด้วย เรามีโอกาสได้เข้าใจและเรียนรู้คุยกับคนที่หลากหลาย ทั้งวงการศาสนา วงการใต้ดินทั้งหลาย อาชีพที่คนดูถูกดูแคลน ที่คนหวาดกลัว ทุกคนมีเหตุผลของตัวเองหมด ทุกคนเป็นตัวเอกในเรื่องราวของตัวเอง และทุกคนมีความเชื่อที่ contruck ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา กันไป ซึ่งเราก็เรียนรู้มานานกับคำที่รู้สึกว่าแค่เข้าใจ ไม่ได้แปลว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
  • หลุดออกจากเรื่องของมนุษย์อย่างเดียว ไปสู่เรื่องสิ่งแวดล้อม และได้เห็นความยิ่งใหญ่อัศจรรย์ของธรรมชาติ และความเล็กลงไปทันตาของปัญหาที่เกี่ยวข้องของมนุษย์ จากนั้นค่อยๆ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาของมนุษย์กับปัญหาของสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายได้เห็นความน่าวิตกของสถานะทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้อย่างวิกฤตมากๆ ก็เลยผันตัวเองมาทำในเรื่องนี้ ซึ่งหลักๆ ก็มาจากการเดินทาง ช่วงแรกๆ เห็นสิ่งแวดล้อม เห็นธรรมชาติก็ว่าสวยดี แต่ไม่ได้เข้าใจอะไร แต่เป็นแรงจูงใจให้ไปศึกษามากขึ้น

จัดการความสมดุลระหว่างการเคลื่อนไหวในเรื่องที่ค่อนข้างยากของสิ่งแวดล้อมกับความต้องการของตัวเองอย่างไร

  • สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีปัญหาใหญ่ระดับมนุษยชาติอยู่ ซึ่งคนสนใจน้อยมาก แต่ว่าจะมีผลกระทบกับคนทุกคนบนโลกใบนี้ไม่ว่าจะรวยจะจน ไม่มีปัญหาไหนใหญ่ไปกว่านี้แล้ว แต่ scale ของความสนใจ ไม่ว่าจะไทยหรือเทศยังต่ำมากๆ ซึ่งปัญหาใหญ่สุดก็คือเรื่อง climate change ซึ่งจะมีผลกระทบถึงอากาศที่หายใจ น้ำดื่ม อาหาร ที่ดิน ความยากจน สงครามแย่งทรัพยากร ทุกอย่างจะเกี่ยวกับเรื่องนี้หมดในเวลา ๑๐ - ๒๐ ปีนี้ ซึ่งในต่างประเทศอาจจะเป็นประเด็นการเมืองที่สำคัญแล้ว แต่ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต่ำมากๆ ในเชิงการรับรู้ และประเด็นทางการเมือง
  • ไม่ได้คาดหวังว่าจะเข้ามาแล้วสร้างการเปลี่ยนแปลงเลย แต่รู้สึกว่าเป็นหนึ่งในคนที่จะเป็นเหมือนคนงานอีกคนที่จะสามารถช่วยดันเรื่องนี้ขึ้นมาสู่ agenda หลักทางสังคมให้ได้มากกว่าที่ตอนนี้เรามองเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไม่แผ่เมตตาอย่างเดียวก็เป็นเรื่องรักษ์โลก แต่ความจริงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างระบบทางสังคมทุกชนิด ที่จะทำให้สังคมอยู่ต่อไปได้โดยทรัพยากรไม่หมดโลก ซึ่งเราเข้าใกล้จุดนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ มากจนน่าวิตกกังวลมากที่สุดแล้ว แต่ว่ากลับไม่มีใครพูดถึง

262186008 969698520563756 271759320160160541 n

อยากให้เล่าถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนควรรู้และจะได้เปลี่ยนการกระทำของตัวเองได้

  • ปัญหาสิ่งแวดล้อมแยกเป็นหลายอย่างมาก เรื่องโลกร้อน การสูญพันธ์ของสัตว์ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหามลพิษทางขยะ สารเคมี เรามักจะพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมรวมกันเป็นเรื่องเดียวเสมอ ทำให้ scope ของการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการเจาะในรายละเอียดมากพอ
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังมีปัญหาใหญ่สุดคือเรื่องโลกร้อน เป็นเรื่องที่น่าวิตกมากๆ คำว่าโลกร้อนคืออุณหภูมิสูงขึ้นและเอฟเฟคด้านที่น้ำทะเลสูงขึ้นจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย เป็นผลกระทบระยะยาวของภาวะโลกร้อน ถ้าเห็นสัญญาณทั่วโลก คือเรื่องไฟป่า พายุที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ภัยแล้ง น้ำท่วม สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ climax change หมด โลกอุณหภูมิสูงขึ้นมันไปเปลี่ยนระบบนิเวศน์ทั้งหลาย เช่นโลกที่ร้อนขึ้นอุณหภูมิในน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้ลมร้อนไปเพิ่มพลังของพายุโซนร้อนมีความรุนแรงมากขึ้น โลกร้อนขึ้นทำให้อากาศอุ้มน้ำได้มากขึ้นนำไปสู่ภาวะที่ฝนตกมากขึ้น น้ำท่วมมากขึ้น ในพื้นที่แล้งก็แล้งมากขึ้น พอเกิดภัยแล้งหรืออุทกภัยก็เกี่ยวข้องกับเรื่องการผลิตอาหารของมนุษย์ ต่อไปจะเป็น trend ข้าวยากหมากแพงจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ
  • เรื่องของมลพิษ : ใช้ถุงผ้าลดโลกร้อนจริงหรือเปล่า สมมติถุงผ้าฝ้ายออแกนิคส์ซึ่งใช้น้ำและสารเคมีเยอะมากปลูกฝ้ายแต่ละไร่ เราต้องใช้ถุงผ้านั้นถึง ๗,๐๐๐ ครั้ง ถึงจะคุ้ม ในเรื่องต้นทุนคาร์บอน เทียบกับการใช้ถุงพลาสติก๗,๐๐๐ ใบ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าใช้ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน สิ่งที่ถุงผ้าช่วยลดได้จริงๆ คือมลพิษขยะซึ่งเป็นปัญหาอีก set หนึ่งโดยสิ้นเชิง

ในแง่มุมของศาสนาเราพอจะช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้บ้างไหม

  • ได้ทั้ง ๒ ด้าน แง่หนึ่งปัญหาทั้งหมดเกิดมาจากอะไร ถ้าตอบประโยคเดียวคือ over population ประชากรโลกเยอะไป บวกกับการบริโภคต่อหัวเยอะขึ้นทุกอย่าง แล้วจำนวนคนก็มากขึ้นเรื่อยๆ มาตรฐานการใช้ชีวิตดีขึ้นสูงมาก แต่ในขณะเดียวกันทรัพยากรทั้งโลกหมดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ศาสนาทุกศาสนาถ้าเข้าใจไม่ผิด พูดเรื่องของการระงับความอยากของตัวเอง ลดการบริโภคสิ่งที่ไม่จำเป็น อยู่อย่างเรียบง่าย สร้างความเป็น community ศาสนาสามารถช่วยดึงระบบสังคมที่บริโภคน้อยกลับมาและยังมีความสุขอยู่ได้
  • สมมติว่าปัญหาของโลกคือการกินเนื้อ สมมติว่าเอาศาสนามาแก้ไขปัญหา ทุกคนต้องเมตตาสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์โลก คิดว่าใน ๗,๘๐๐ ล้านคน อาจจะได้ผลอย่างมาก ๑๐๐ ล้านคน ถ้าเราไม่พูดเรื่องศาสนาจริยธรรมเลย แล้วลองคิดวิธีการผลิตเนื้อใหม่ ที่ไม่ต้องถางป่า ปลูกพืชที่เป็นอาหารสัตว์ แต่สามารถเพาะในแล็บได้ หรือสร้างเนื้อสังเคราะห์จากพืชที่อร่อยพอกับเนื้อทั่วไปได้ โดยไม่ต้องพูดเรื่องการตัดกิเลสคนเลย แต่พูดเรื่องการสนองกิเลสเดิมโดยใช้ทรัพยากรน้อยลงกว่าเดิมให้ได้ และสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจริยธรรมเลย ขึ้นอยู่กับว่านวัตกรรมอยู่ตรงไหน นโยบายคืออะไร เงินลงทุนไปลงตรงไหน เราสามารถตอบโจทย์เชิงการตลาดให้กับคน ๗,๘๐๐ ล้านคนได้ โดยที่ลดการลิ้งค์กันระหว่างการกินเนื้อและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดนวัตกรรมที่ทำให้การกินเนื้อไม่ได้มีผลกระทบเชิงลบกับสิ่งแวดล้อมมากเท่าเดิมแล้ว อันนี้เป็นคำตอบที่ไม่ได้มีศาสนาอยู่ในนั้นเลย ไม่ได้พูดเรื่องจริยธรรมเลย เป็นเรื่องเทคนิคล้วนๆ ซึ่งถ้าสามารถทำได้ให้กับคน ๗,๘๐๐ ล้านคน ระบบชีวิตก็จะต่างไปจากเดิมสิ้นเชิง
  • ศาสนาได้ทั้ง ๒ ทาง แง่หนึ่งก็สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคได้อยู่แล้ว แต่ว่าคำถามคือเราสามารถใช้ศาสนานำผู้ผลิตได้หรือเปล่า มีองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่บนโลกนี้ที่ไหนหรือเปล่าที่สามารถเอาศาสนานำเพื่อตอบโจทย์ทางจริยธรรมได้
  • สมมติว่ามีบริษัทพันล้าน สามารถเอาศาสนาพุทธไปนำให้เขาเปลี่ยนเส้นทางในการผลิตของเขาได้ไหม ศาสนาจะทำให้ภาระส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ผู้บริโภคเยอะไปหรือเปล่า เป็นเรื่องของการเลือกส่วนบุคคลเยอะไปหรือเปล่า หรือสุดท้ายแล้วควรจะเป็นเรื่องของระบบที่มีนวัตกรรมมากพอที่จะลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และนโยบายทางภาครัฐที่สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมให้ได้ ซึ่งคิดว่าไม่ควรคุยกันแต่ในเรื่องจริยธรรมแต่ควรคุยกันในเรื่องเทคนิคล้วนๆ

252335981 394812895702242 1640761487127541798 n

คนและสิ่งมีชีวิตในโลกเกี่ยวข้องกัน

  • เข้าใจว่าตอนนี้ทุกคนยังลำบากอยู่เยอะ แต่ถ้ายิ่งไม่ทำเรื่องสิ่งแวดล้อมคนจะลำบากยิ่งกว่านี้อีก เราไม่สามารถแบ่งออกมาได้ว่าคนต้องสบายก่อนแล้วสิ่งแวดล้อมมาทีหลัง เพราะว่าถ้าไม่ดูแลสิ่งแวดล้อมสุดท้ายมันวกมาหาคนและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ ซึ่งเรามักจะลืมว่าเขาแชร์ดาวเคราะห์กับเราอยู่ เรามักจะเห็นแค่มนุษย์อย่างเดียว
  • ตอนนี้เรียนโทหลักสูตรการจัดการขยะพลาสติกทางทะเล พอเรียนจบก็จะเจาะเรื่องนี้โดยเฉพาะ คือเรื่อง prevent พลาสติกในประเทศไทยไม่ลงทะเลให้ได้ ซึ่งมีความซับซ้อนเยอะในปัญหานี้ สามารถแก้ในเชิงธุรกิจ เชิงนโยบายภาครัฐ และเชิงผู้บริโภค ซึ่งฝั่งผู้บริโภคลิ้งค์ได้กับเรื่องธรรมะได้พอสมควร และสามารถมีกลุ่มคนจำนวนมากในสังคมซึ่งตอบสนองในแนวคิดทางธรรมะ ส่วนแง่ธุรกิจ แง่ภาครัฐ ยังไงก็ต้องใข้เครื่องมืออื่นขึ้นมา
  • คิดว่าสุดท้ายแล้วศาสนายังไงก็ไม่ควรจะเป็น dominance post ในสังคมเกินไป อยู่เป็นที่พึ่งทางจิตใจดีแล้ว แต่ถ้าศาสนาเริ่มเข้าไปยุ่งกับการกำหนดนโยบายมากเกินไป จะ set ปัญหาอีกด้านหนึ่งขึ้นมาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่เรื่องของบทบาทของศาสนาโดยรวมด้วยว่าควรจะเป็นอย่างไร

ประเด็นเรื่องคนไม่มีศาสนา

  • มีความเปลี่ยนแปลงเชิงตัวตนและจิตวิญญาณเยอะมาก ในช่วง ๑๒ ปีที่ผ่านมานี้ ถ้าตอบอย่างหยาบก็บอกได้ว่าไม่มีเหมือนเดิม แต่คำว่าไม่มีในตอนแรก กับไม่มีในตอนนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง ไม่มีในตอนแรกตอนเริ่มต้นแสวงหาคือไม่มีเพราะการปฎิเสธ แต่ตอนนี้ไม่มีเพราะเลือกไม่ถูก เพราะว่าชอบหลายๆ อย่าง และไม่คิดว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เลือกสิ่งที่คิดว่าเหมาะกับชีวิตตัวเองมา apply กับศาสนานู้น ศาสนานี้ และบางอย่างก็ไม่ตรงกับศาสนาไหนเลย แต่สุดท้ายก็คิดว่ามีความมองข้ามกรอบว่าเราต้องนิยามว่าเป็นศาสนาไหน เพราะว่าสัจธรรมถ้าไปคุยกับคนหลายศาสนาสุดท้ายก็มีหนึ่งเดียวจริงๆ สิ่งที่มนุษย์แสวงหาก็เป็นเรื่องเดียว เรื่องเดิมมาตลอด
  • บางทีเราสามารถเข้าถึงสัจธรรมเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องมาจากกรอบศาสนาก็ได้ มาจากการศึกษาวิทยาศาสตร์ก็ได้ มาจากการเข้าหาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ได้
  • เรา apply เรื่องทางจิตวิญญาณ และเรื่องของสัจธรรม และเรื่องของธรรมชาติมาจากหลายๆ ศาสตร์ ทั้งวิทยาศาสตร์ ทั้งศาสนา ทั้งปรัชญา และทั้งจากประสบการณ์และความคิดในการเดินทาง แล้วค่อย  adap มาเป็น... จะใช้คำว่าศรัทธาก็ได้ แต่คิดว่าเป็นแค่การสร้าง reality ให้ตัวเอง การสร้างความเป็นจริงในแบบของเราเอง แล้วมาจากหลายองค์ประกอบมาก ศาสนาเป็นเพียงแค่หนึ่งในองค์ประกอบเหล่านั้น ที่เรามีโอกาสเรียนรู้ และเราไม่มีความจำเป็นเลยที่ต้องเลือกว่าจะเป็นศาสนาไหน

265699731 464474638376191 8016458446125442694 n

ศาสนาเป็นองค์ความรู้หรือมองเห็นเหลี่ยมในการเป็นเครื่องมือปฎิบัติด้วย

  • ศาสนาเป็นเครื่องมือเพื่อเข้าถึงสัจธรรมและความสงบทางจิตใจ หรือการบรรลุ เหมือนวิทยาศาสตร์ หรือศาสตร์อื่นๆ บนโลก โดยให้ผู้รู้ที่มีมาก่อนหน้านี้ในประวัติศาสตร์ ที่เขาคิดไว้แล้ว ได้ผ่านการทดลองมาแล้ว สามารถไกด์เราไปสู่จุดนั้นได้ โดยมีไกด์ทั้งในเชิงปรัชญา ไกด์ในเชิงปฎิบัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอกาลิโก ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้จริงๆ ทำได้ทุกกาลเวลา
  • เรามักจะไปติดอยู่ว่าศาสนาด้วยตัวมันเองเป็นสิ่งที่ต้องบูชา ต้องมีคุณค่า ที่ต้องรักษาไว้ยิ่งชีพ ซึ่งอันนี้เป็นมุมมองเชิงศาสนาที่ไม่เห็นด้วย เพราะทุกอย่างเป็นเครื่องมือให้มนุษย์เข้าไปสู่การเป็นอยู่ที่สูงส่ง เป็นเครื่องมือที่อนุญาตให้ผู้แสวงหาไปสู่ความจริงแท้ที่สูงส่งกว่าการแค่มีชีวิตอยู่ไปวันๆ ได้ แต่ว่าพอมา apply กับระเบียบด้านสังคม เรามักจะไปติดอยู่กับมิติว่าต้องทำนุบำรุงศาสนา กลายเป็นว่าเราโดนศาสนากั้นไม่ให้เข้าสู่สัจธรรมแทน หรือใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการทะเลาะเบาะแว้ง หรือใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
  • อยากแยกออกจากกันระหว่างศาสนาเชิงจิตวิญญาณ กับศาสนาเชิงระเบียบสังคม ซึ่งมีส่วนคาบเกี่ยวกันบ้าง แต่สุดท้ายแล้วอยากมองว่าเป็น ๒ ปรากฎการณ์ที่ต่างกัน และส่วนใหญ่ศาสนาเลือกทางจิตวิญญาณ เพียงแค่พอมัน popular มากขึ้น ก็ต้องอาศัยศรัทธาเป็นตัวดึงคนเข้ามาเพิ่ม แล้วพอมีศรัทธาดึงคนเข้ามาเพิ่มก็เลยกลายเป็นระเบียบทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันนี้เกิดขึ้นในทุกศาสนาทั่วโลกและกลายเป็น conflict ที่แทนที่จะใช้ศาสนา up จิตวิญญาณขึ้นไป กลายเป็นมาต่อสู้เพื่อปกป้องศาสนาเหล่านี้

การแผ่เมตตาเพื่อสัตว์โลกสำคัญกว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่

  • จะไปไหนมาไหนก็ไม่รับหลอด ถุงพลาสติกไม่เอา แทบไม่กินเนื้อ แต่ทั้งหมดทั้งมวลไม่มีผล ในเรื่องการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างสิ่งแวดล้อมโดยรวม สิ่งเหล่านั้นต้องกลับไปสู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย การแก้ปัญหาเชิงเทคนิค และคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา
  • แต่ทำไมผมยังทำ : ทำเพื่อให้ตัวเองไม่ใช่แค่มาบอกให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือเปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิคอย่างเดียว โดยที่ไม่มีความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณเลย เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อให้ทางจิตวิญญาณก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
  • ถ้าใช้คำว่าแผ่เมตตาเป็น symbolic ว่าเราจะช่วยเหลือสัตว์โลกก็เป็นเรื่องดีในการตั้งต้น แต่ให้รู้ว่าการแผ่เมตตาเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องสำคัญที่จะตั้งจิตให้ชัดเจนว่าต่อนี้ไปคุณจะคิดถึงสัตว์โลกตลอดเวลาในทุกการกระทำ จากนั้นค่อยเอาความรู้สึกตรงนั้นไปใช้ในการแก้ปัญหาที่ใหญ่ออกไป

261110874 459449852212003 1472597165020963727 n

ความสุขอย่างสิงห์ เป็นอย่างไร และนิยามอย่างไร (ความสุขของคนเถื่อน)

  • ในตอนนี้ความสุข simple มากขึ้นเยอะ การมี focus ในชีวิตที่ค่อนข้างชัดเจนว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เพื่อเป้าหมายอะไร ก็เป็นความสงบทางใจที่สำคัญอย่างหนึ่ง และความสุขที่แต่ก่อนไม่เคยจะเป็นที่พึ่งหลักในชีวิต แต่ว่าตอนนี้กลายมาเป็นที่พึ่งแล้วก็คือเรื่องสายใยของคนรอบตัว ตอนนี้การได้ดูแลคนรอบข้าง การได้รู้สึกว่าตัวเองทำมากพอที่จะทำให้คนรอบข้างเรามีความสุข หรือมีที่พึ่ง
  • มีความสุขมากขึ้นในการที่เรามีความอยากจะเป็น someone น้อยลงเรื่อยๆ ทุกวัน การที่มีโอกาสได้เป็น someone อยู่บ้างในช่วงวัยก่อนหน้านี้ ก็ได้รู้ว่ามันไม่มีอะไรหรอกในชื่อเสียงหรือความโด่งดังเหล่านั้น พอถึงเวลาตรงนี้ก็ปล่อยวางไปได้เยอะ ไม่ได้รู้สึกว่าต้องวิ่งตามอะไรตลอดเวลาอีกต่อไปแล้ว ความสงบตรงนั้นมันก็เกิดขึ้นเยอะ ตอนนี้อยากมา focus เรื่องการแก้ปัญหาที่เราเห็นรูปธรรมตรงหน้ามากกว่า ว่าเราจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเหล่านี้ยังไง ซึ่งถ้าชื่อเสียงยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ ก็ยังคงต้องใช้ชื่อเสียงต่อไป แต่ว่า need ของการที่จะต้องออกไปให้คนอื่นเห็นเราตลอดเวลาเหมือนตอนอายุน้อยๆ แทบจะไม่มีแล้ว